คู่มือใช้งาน

ข้อแนะนำสำหรับผู้ใช้งานครั้งแรก

โปรดอ่านคู่มือนี้ให้ครบทุกขั้นตอน เพื่อที่จะสามารถใช้งานระบบได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

Quick Step

5 ขั้นตอนง่าย ๆ ในการเริ่มใช้งานระบบ (คลิกปุ่มด้านล่างเพื่อเริ่ม Quick Step)

  1. 1. สร้างสินค้าใหม่
    ต้องมีสินค้าอย่างน้อย 1 รายการ ถึงจะสร้างออเดอร์ให้ลูกค้าได้
  2. 2. สร้างออเดอร์
    ระบุที่อยู่จัดส่ง วิธีจัดส่ง รายการสินค้า คิดค่าส่ง ในขั้นตอนนี้
  3. 3. รับยอดโอนเงิน
    บันทึกยอดเงินที่ลูกค้าโอนเข้ามา เพื่อให้รู้ว่ารายการนั้น ๆ ชำระเงินแล้ว
  4. 4. สั่งปริ้นใบจัดสินค้า
    ใช้ในการจัดสินค้า เพื่อรอจัดส่ง
  5. 5. ปิดรายการ
    ตัดสต็อกและบันทึกเลขพัสดุเข้าไปในระบบ

Product

กดบาร์ แล้วเลือกเมนู Product เพื่อจัดการสินค้าในระบบ

คลิกเพื่อซูม

1) แผงตัวกรองการค้นหา

  • กดปุ่ม แสดงผล เพื่อกรองผลลัพท์ ตามที่เลือกไว้
  • กดปุ่ม เพิ่มสินค้า เพื่อไปหน้า สร้างสินค้าใหม่

2) ปุ่มจัดการสินค้า

  • กดปุ่ม ลบทั้งหมดที่เลือก ลบรายการสินค้าทั้งหมดที่เลือกไว้
  • กดปุ่ม ล็อคทั้งหมดที่เลือก ล็อคไอคอนเครื่องปริ้น ทุกรายการที่มีสินค้าที่เลือกไว้
  • กดปุ่ม Hide ทั้งหมดที่เลือก ซ่อนสินค้าไม่ให้ถูกค้นหาเจอจากในหน้า Orders
  • กดปุ่ม Unhide ทั้งหมดที่เลือก แก้ให้สินค้าถูกค้นหาเจอได้ในหน้า Orders

3) ผลลัพท์รายการสินค้า

แสดงรายการตามเงื่อนไขการค้นหาจาก (1) โดยแบ่งแสดงผล ดังนี้

  • รหัสสินค้า
  • ชื่อสินค้า
    • แสดงชื่อสินค้า ค่าส่งขั้นต่ำ แถบสี & แผงเลือกสี
  • ต้นทุน
    • กดไอคอน เพื่อเปิดดูต้นทุนสินค้า
    • ตั้งรหัสผ่านดูสินค้าได้ที่หน้า Settings
  • ราคาขาย
  • สต็อก
  • ขายแล้ว
    • บรรทัดบน หมายถึง ขายไปแล้วเท่าไร
    • บรรทัดล่าง หมายถึง สต็อกเหลืออีกอีกเท่าไร
    • เช่น จากรูปตัวอย่างรหัสสินค้า 001 แสดงเลข 8 / (1) หมายถึง ขายแล้ว 8 (ว่างอีก 1) เป็นต้น
  • แจ้งโอนแล้ว
    • บรรทัดบน หมายถึง จำนวนชิ้นที่โอนแล้ว
    • บรรทัดล่าง หมายถึง จำนวนชิ้นที่ยังไม่โอน
    • เช่น จากรูปตัวอย่างรหัสสินค้า 001 แสดงเลข 2 / (6) หมายถึง โอนมาแล้ว 2 (ยังไม่โอนอีก 6) เป็นต้น
  • น้ำหนัก (g)

สร้างสินค้าใหม่

กดปุ่ม เพิ่มสินค้า ในหน้า Product เพื่อเปิดฟอร์มสร้างสินค้าใหม่

  • ใส่ข้อมูลสินค้าตามช่องที่มีเครื่องหมาย * ให้ครบถ้วน
  • รหัสสินค้า ต้องไม่ซ้ำกับที่มีอยู่ในระบบ
  • กดปุ่ม บันทึกข้อมูล เพื่อเพิ่มสินค้าใหม่

Info:

ระบบมีรหัสสินค้าพื้นฐานไว้ให้ใช้ 3 รหัส ดังนี้

  • ใช้เพิ่มส่วนลดพิเศษให้กับออเดอร์นั้น ๆ
  • ใช้เก็บเงินสดเพิ่มเติม หรือสามารถประยุกต์ใช้แทนสินค้าที่ไม่ต้องการตัดสต็อกได้
  • ใช้หักยอดฝากในระบบของ Tag User 1 นั้น ๆ (ดูเพิ่มเติมที่ Balance)

Import สินค้าจากไฟล์ Excel

กดปุ่ม อัพโหลดรายการสินค้าด้วยไฟล์ Excel จากในหน้าสร้างสินค้าใหม่

  • สามารถ download template ได้ที่ลิ้งค์ด้านใน
  • กดปุ่ม อัพโหลดรายการสินค้า เพื่อตรวจสอบรายการสินค้าในไฟล์ Excel

คลิกเพื่อซูม

  • เมื่อกดปุ่ม อัพโหลดรายการสินค้า จะแสดงรายการสินค้าที่อยู่ในไฟล์ Excel
  • ระบบจะไม่แสดงผลสินค้าที่ใส่ข้อมูลในช่อง * ใน Excel ไม่ครบถ้วน
  • เมื่อเจอข้อมูลผิดปกติ จะแสดงสถานะแบ่งเป็น 2 สี ดังนี้

    • สีเหลือง หมายถึง ข้อมูลโดนปรับแต่งโดยอัตโนมัติ เนื่องจากข้อมูลในช่องนั้นไม่ถูกต้อง เช่น

      • ใส่สต็อกไม่ใช่ตัวเลขจำนวนเต็ม, ใส่ชื่อเกินจำนวนตัวอักษรที่กำหนด ฯลฯ
      • ใส่หน่วยนับที่ไม่มีในระบบ ในกรณีนี้ ระบบจะเพิ่มหน่วยนับใหม่นั้นให้โดยอัตโนมัติ
      • ใช้เมาส์วางเหนือช่องนั้น ๆ เพื่อดูคำอธิบาย

    • สีแดง หมายถึง ข้อมูลไม่ถูกต้อง ตามรูปตัวอย่างนี้คือ รหัสสินค้า 001 ซ้ำกับที่มีอยู่ในระบบ ถ้าไม่เปลี่ยนรหัสสินค้าก่อน ก็จะไม่สามารถนำเข้าสินค้าบรรทัดนั้นได้

  • กดปุ่ม ดำเนินการ เพื่อเพิ่มสินค้าใหม่ตามรายการที่แสดงทั้งหมด

จัดการสต็อกสินค้า

กดปุ่ม จัดการ Stock ในหน้า Product

  • กดปุ่ม เพิ่ม เพื่อเพิ่มสต็อกสินค้าตามเลขที่ระบุ
  • กดปุ่ม ลด เพื่อลดสต็อกสินค้าตามเลขที่ระบุ
  • กดปุ่ม แก้ไข เพื่อแก้ไขสต็อกสินค้าให้เป็นไปตามเลขที่ระบุ

Orders

กดบาร์ แล้วเลือกเมนู Orders (หรือ คลิกคำว่า ORDERS จาก top menu) เพื่อออกออเดอร์ให้ลูกค้า

คลิกเพื่อซูม

  • กรอกข้อมูลที่อยู่ลูกค้าลงในแบบฟอร์ม ตามช่องที่กำหนด
  • กดปุ่ม เพื่อบันทึก วิธีจัดส่ง หรือ รูปแบบการเก็บเงินปลายทาง ให้เป็นค่าพื้นฐานสำหรับเวลาออกออเดอร์ใหม่ได้
    - สมมุติว่าออเดอร์นั้น ค่าสินค้า 100.- มีค่าจัดส่ง 50.- ผลการเลือก รูปแบบการเก็บเงินปลายทาง ทำให้ส่วนหัวใบจัดสินค้าแตกต่างกันดังนี้

    • ไม่เก็บเงินปลายทาง - ไม่แสดงกรอบ COD
    • COD ค่าสินค้า+ค่าส่ง - แสดงกรอบ COD พร้อมยอดเงิน 150.-
    • COD เฉพาะค่าสินค้า - แสดงกรอบ COD พร้อมยอดเงิน 100.-
    • COD เฉพาะค่าส่ง - แสดงกรอบ COD พร้อมยอดเงิน 50.-
    • COD ไม่แสดงยอดเงิน - แสดงกรอบ COD และเว้นช่องว่างไว้ให้ผู้ใช้งานเขียนระบุเอาเอง

  • กดแว่นขยาย หรือกดปุ่ม บนคีย์บอร์ดเพื่อค้นหาที่อยู่ของลูกค้าเดิม

    • ที่อยู่ที่ค้นหาเจอ จะแสดงตามลำดับที่ถูกใช้งานล่าสุด
    • สามารถกดปุ่ม อีกครั้ง เพื่อเลือกที่อยู่ที่โดนใช้งานล่าสุดได้ทันที

Info:

ถือเป็นข้อมูลหลักในการยืนยันตัวตนของลูกค้าคนนั้น ๆ แม้จะไม่รู้ชื่อที่อยู่ของลูกค้าเลย แต่ผู้ใช้งานควรใส่ข้อมูลในช่อง Tag User 1 นี้ไว้ เช่น ชื่อ facebook, ชื่อ LINE, ชื่อเล่นลูกค้า หรืออื่นๆ ที่ระบุตัวตนลูกค้าได้ เป็นต้น

สำหรับ Tag User 2 และ Tag User 3 เป็นช่องสำรอง อาจนำไปใช้ใส่ข้อมูล Tag User 1 เก่า เช่น กรณีลูกค้าเปลี่ยนชื่อ facebook, ใส่ลิ้ง facebook profile หรืออื่น ๆ เป็นต้น

การเพิ่มที่อยู่และการฝากส่ง

คลิกเพื่อซูม

  • ปุ่ม ส่งที่อยู่อื่น (ฝากส่ง) และ เพิ่มใหม่ จะแสดงขึ้นมา เมื่อชื่อที่อยู่ปัจจุบันเคยถูกบันทึกและได้ ID มาก่อนแล้ว

    • จากรูปตัวอย่าง ที่อยู่นี้เคยบันทึกลงฐานข้อมูลลูกค้ามาก่อนแล้ว ได้ ID ที่อยู่คือเลข 2

  • เมื่อต้องการ "เพิ่มที่อยู่ใหม่ให้กับลูกค้าคนเดิม" ให้ทำตามขั้นตอน ดังนี้

    1. ค้นหา ที่อยู่เดิมของลูกค้าคนนั้นออกมาก่อน
    2. กดปุ่ม เพิ่มใหม่ แล้วค่อยแก้ไขที่อยู่ให้เป็นข้อมูลที่อยู่ใหม่
    3. เมื่อกดปุ่ม บันทึกข้อมูล ที่อยู่ใหม่นี้จะถูกบันทึกเป็น ID ใหม่ทันที

  • กดปุ่ม ส่งที่อยู่อื่น (ฝากส่ง) เพื่อเปิดฟอร์ม ผู้รับสินค้า (เมื่อต้องการใช้ระบบฝากส่ง เช่น ตัวแทนจําหน่าย)

    • ข้อมูลที่อยู่ในฟอร์ม ผู้รับสินค้า จะเป็นผู้รับสินค้า และที่อยู่ ID ด้านบนจะกลายเป็นผู้ส่งแทน
    • กดปุ่ม << รอที่อยู่ฝากส่ง เมื่อยังไม่ทราบข้อมูลผู้รับสินค้าที่แน่ชัด
    • เมื่อมีการเปลี่ยนที่อยู่ผู้ส่ง (เปลี่ยน ID) ฟอร์ม ผู้รับสินค้า จะโดนปิดและล้างข้อมูลออกอัตโนมัติ

      • ก่อนเปลี่ยน ID ที่อยู่ผู้ส่ง สามารถกด Lock ที่อยู่ฝากส่ง ไว้ก่อนได้ เพื่อไม่ให้ฟอร์มโดนปิด และไม่โดนล้างข้อมูลผู้รับสินค้า

Info:

ใบเสร็จของออเดอร์แบบฝากส่ง จะแสดงรายการสินค้าเฉพาะ ชื่อสินค้าและจำนวน เท่านั้น

รายการสินค้าในออเดอร์

คลิกเพื่อซูม

  • กดแว่นขยาย หรือกดปุ่ม บนคีย์บอร์ดเพื่อค้นหาสินค้า

    • สินค้าที่ค้นหาเจอ จะแสดงตามลำดับตาม รหัสสินค้า เรียงจากน้อยไปหามาก
    • สามารถกดปุ่ม อีกครั้ง เพื่อเลือกสินค้าบรรทัดบนสุดที่ค้นหาเจอได้ทันที

  • กดปุ่ม เพื่อเพิ่มคอมเมนต์ให้กับสินค้าบรรทัดนั้น ๆ

    • รายละเอียด - แสดงคอมเมนต์สินค้านี้ในใบจัดสินค้าด้วย
    • รายละเอียดลับ - ไม่แสดงคอมเมนต์สินค้านี้ในใบจัดสินค้า

  • กดปุ่ม เพื่อลบสินค้าบรรทัดนั้น ๆ ออกจากใบสั่งซื้อ
  • กดปุ่ม เพิ่มเงินสดเรียกเก็บ เพื่อเพิ่มรหัสสินค้า ลงไปในบรรทัดล่างสุด
  • กดปุ่ม เพิ่มส่วนลด เพื่อเพิ่มรหัสสินค้า ลงไปในบรรทัดล่างสุด
  • หาก Tag User 1 ที่ใช้งานอยู่ มียอดเงินฝากในระบบ Balance จะแสดงปุ่ม มียอดฝาก XXX บาท เพิ่มเข้ามา เพื่อกดใช้งานรหัสสินค้า สำหรับหักยอดเงินฝากไปกับออเดอร์นี้
  • ระบบจะตัดสต็อกโดยอิงข้อมูลจากช่อง ของ รหัสสินค้า บรรทัดนั้น ๆ

Tip:

สามารถแก้ไขชื่อสินค้าและราคาเฉพาะออเดอร์นี้ได้

โดยที่ออเดอร์อื่นๆ และข้อมูลสินค้าในระบบสต็อกจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง

คำนวณค่าส่ง

  • จากรูปตัวอย่าง คลิกเลือกกล่อง C ระบบใส่น้ำหนักกล่อง 120 กรัม (น้ำหนักรวมสินค้าคือ 1120 กรัม) และใส่ไดเมนชั่นกล่อง (กว้าง+ยาว+สูง) เท่ากับ 61 ซม. ให้อัตโนมัติ
  • ค่าส่งของไปรษณีย์ไทย คิดจาก น้ำหนักรวมทั้งหมด (น้ำหนักกล่อง + น้ำหนักสินค้า)
  • ค่าส่งของขนส่ง Express เจ้าอื่น (เช่น Kerry หรือ Flash) คิดจาก น้ำหนักรวมทั้งหมด, ไดเมนชั่นกล่อง และจังหวัดของผู้รับปลายทาง
  • เมื่อติ๊กถูก ตรงนี้ ค่าส่งที่คำนวณได้ จะเป็น เรทค่าส่งจริง+ค่ากล่องที่ใส่ไว้ (จากรูปคือ บวกค่ากล่องเพิ่ม 10 บาท)

Bank List

กดบาร์ แล้วเลือกเมนู Bank List (เข้าได้เฉพาะ Admin) เพื่อจัดการบัญชีธนาคารที่ใช้รับยอดโอนเงิน

  • แสดงยอดเงินและจำนวนครั้งที่รับยอดโอน แยกตามปี
  • บัญชีที่    จะแสดงใน ชื่อธนาคารที่โอน ในส่วน รับยอดโอนเงิน
  • คลิก ชื่อเรียกบัญชี เพื่อเปิดฟอร์มแก้ไขธนาคาร
  • ลบบัญชีธนาคารได้โดยการกดปุ่ม ลบบัญชี (ในฟอร์มแก้ไขธนาคาร)

เพิ่มบัญชีธนาคาร

กดปุ่ม เพิ่มบัญชีธนาคาร ในหน้า Bank List เพื่อเปิดแบบฟอร์มเพิ่มบัญชีธนาคารใหม่

  • ใส่ข้อมูลสินค้าตามช่องที่มีเครื่องหมาย * ให้ครบถ้วน
  • กดปุ่ม บันทึกข้อมูล เพื่อเพิ่มบัญชีธนาคารใหม่

Manage

กดบาร์ แล้วเลือกเมนู Manage (หรือ คลิกคำว่า MANAGE จาก top menu)

คลิกเพื่อซูม

1) แผงตัวกรองการค้นหา

  • กดปุ่ม แสดงผล เพื่อกรองผลลัพท์ ตามที่เลือกไว้
  • กดปุ่ม สร้างรายการ เพื่อไปหน้า Orders

Tip:

เมื่อค้นหาด้วย ☆ รหัสสินค้า หรือ ☆ ชื่อสินค้า จะมีผลลัพธ์ค้นหาพิเศษด้วย สามารถดูได้โดยการกดปุ่ม + ดูผลลัพธ์ค้นหาสินค้า

2) With selected

สามารถเลือกดำเนินการได้ครั้งละหลายรายการ ตามเมนูดังนี้

  • ลบทั้งหมดที่เลือก

    • รายการที่โดนลบ จะไม่สามารถกู้กลับมาได้
    • ถ้าในรายการที่โดนลบมีการใช้งานยอดฝากจากระบบ Balance ระบบจะดึงยอด Balance คืนกลับไปให้

  • ล็อคทั้งหมดที่เลือก

    • ล็อคไอคอนเครื่องปริ้น ทุกรายการที่เลือก ทำให้ไอคอนเปลี่ยนเป็น ไม่ให้สามารถกดปริ้นได้
    • ล็อคไอคอนเครื่องปริ้น ทุกรายการที่มีสินค้าที่เลือกไว้ก็ได้ ที่หน้า Product

  • ปลดล็อคทั้งหมดที่เลือก

    • เปลี่ยนสถานะจากล็อค เป็นปลดล็อคไอคอนเครื่องปริ้น

  • รีเซ็ตเครื่องปริ้น

    • เมื่อมีการกดไอคอนเครื่องปริ้น ไปแล้ว ปุ่มไอคอน ถูกซ่อนไว้ ไม่แสดงขึ้นมาอีก
    • ใช้ฟังก์ชั่นนี้ เพื่อนำไอคอนเครื่องปริ้น กลับมา

  • เปลี่ยนสีเป็น (ตามสีที่เลือก)

    • เปลี่ยนทุกรายการที่เลือกให้เป็นสีที่กำหนด

Info:

การดำเนินการด้วยเมนู With selected นี้ ผู้ใช้งานจะต้องพิมพ์คีย์เวิร์ดที่ขึ้นแสดงอยู่ให้ถูกต้อง เพื่อเป็นการป้องกันการเผลอกดใช้งานโดยไม่ได้ตั้งใจ

3) ปุ่ม

ปุ่มทางลัดสำหรับค้นหารายการสั่งซื้อทั้งหมด ที่เลือกวิธีเก็บเงินแบบ COD และมียอดค้างชำระ


4) ปุ่ม

ปุ่มทางลัดสำหรับค้นหารายการสั่งซื้อทั้งหมด ที่จ่ายเงินแล้ว + ไม่โดนล็อคปุ่มปริ้น และสามารถกดปุ่มปริ้นได้ อยู่


5) ผลลัพท์การค้นหารหัสใบสั่งซื้อ

แสดงรายการตามเงื่อนไขการค้นหาจาก (1) โดยแบ่งแสดงผล ดังนี้

  • รหัสใบสั่งซื้อ
    • แสดงเลขรหัสใบสั่งซื้อ
    • แถบสีของผู้ใช้งานที่สร้างรายการนี้ ตั้งค่าได้ที่ Admin Roles
    • หมายเหตุส่วนจ่าหน้าใบเสร็จ
    • หมายเหตุท้ายใบเสร็จ
  • สถานะ
  • ใบเสร็จ
    • แสดงปุ่มปริ้นเตอร์
    • ดูใบเสร็จโดยไม่กดปุ่มปริ้นเตอร์
  • ทำรายการ
  • จำนวนเงิน
    • แสดงยอดเงิน
    • วันที่สร้างรายการ
    • จังหวัดและรหัสไปรษณีย์ผู้รับ
    • วิธีจัดส่งและค่าจัดส่ง
  • สินค้า
    • ตะกร้าสินค้า (คลิกเพื่อดูสินค้าด้านใน)
    • น้ำหนักโดยประมาณ (กรัม)
    • แถบสีไว้จำแนกประเภทรายการ
  • ผู้สั่งซื้อ
    • ชื่อและเบอร์โทรผู้รับ และผู้ฝากส่ง (ถ้ามี)
    • สถานะรายการ COD
    • ปุ่ม สำหรับดูประวัติการดำเนินงานย้อนหลัง
    • กดปุ่ม เพื่อบันทึกสถานะว่าออเดอร์นี้มาจากการยิง (เลือกสีได้ 7 สี)
  • หมายเหตุหลังร้าน
    • ข้อความหมายเหตุ

      • บรรทัดนั้น ๆ จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เมื่อมีการใส่ข้อความหมายเหตุ
      • สามารถใส่หมายเลขบ้านย่อยได้ โดยการใส่เครื่องหมาย # ตามด้วยตัวเลข แล้วกดปุ่ม OK
      • ใช้เครื่องหมาย . นำหน้าข้อความ จะทำให้บรรทัดนั้น ๆ ไม่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง

    • แสดงหมายเลขบ้านย่อย (ถ้ามี)
    • แสดง Tag User ทั้งหมดของลูกค้า

      • คลิกชื่อ Tag User เพื่อ Copy to Clipboard ได้ทันที

Tip:

สามารถใส่หมายเลขบ้านย่อย และข้อความหมายเหตุได้พร้อมกัน เช่น
#21 รอคิดค่าส่ง ระบบก็จะใส่หมายเลข "บ้าน 21" และหมายเหตุ "รอคิดค่าส่ง" เป็นต้น

ข้อความสำเร็จรูป

คลิกไอคอน เพื่อเปิดหน้าต่างข้อความสำเร็จรูป ไว้ใช้ COPY ไปตอบลูกค้า สามารถออกแบบได้เอง 10 templates ในหน้า Editor

  • กดปุ่ม COPY ข้อความ เพื่อคัดลอกข้อความทั้งหมดในกรอบฝั่งซ้ายลงใน Clipboard
  • กดปุ่ม ปิดหน้าต่าง เพื่อปิดหน้าต่างนี้
  • กดปุ่ม แก้ไข Template เพื่อเข้าสู่หน้า Editor

รับยอดโอนเงิน

กดปุ่ม แจ้งโอน / รายการแจ้งโอน ในหน้า Manage เพื่อเปิดหน้าต่างรับยอดโอนเงิน

  • เลือกบัญชีธนาคารที่ลูกค้าโอนเข้า (จัดการบัญชีได้ที่ Bank)
  • ระบุ วันที่ / เวลา / จำนวนเงิน / ช่องทางแจ้งโอน
  • กดปุ่ม แจ้งการโอนเงิน เพื่อบันทึกการแจ้งโอนเงิน
  • สามารถดูประวัติโอนเงิน หรือ เพิ่ม/ลบ ยอดโอนเงินได้อีกโดยการกดปุ่ม รายการแจ้งโอน อีกครั้ง

Info:

ระบบสามารถตรวจสอบยอดโอนที่ซ้ำกันได้ เพื่อป้องกันมิจฉาชีพที่นำสลิปแจ้งโอนมาใช้ซ้ำกับออเดอร์อื่น โดยเช็คจากข้อมูลที่ตรงกัน 3 อย่างคือ วันที่ เวลา และยอดเงิน เมื่อตรวจสอบเจอ ระบบจะเด้งแจ้งเตือนก่อนดำเนินการรับยอดโอนออเดอร์นั้นๆ

ปิดรายการ

กดปุ่ม ปิดรายการ เพื่อบันทึกว่ารายการนั้นจัดส่งแล้ว หรือดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว

  • ระบุวันที่ส่งสินค้า (คลิกในช่องเพื่อเลือกวันที่จากในปฏิทิน)
  • ระบุเลขพัสดุ / คอมเมนต์เพิ่มเติม
  • เมื่อกดปุ่ม ปิดรายการ ระบบจะทำการตัดสต็อกและบันทึกเลขพัสดุเข้าไปในระบบ

Warning:

รายการที่ปิดไปแล้ว จะไม่สามารถแก้ไขข้อมูลด้านในได้อีก (แต่ยังสามารถ คัดลอก ได้อยู่)

ตามยอดค้างโอน

เมื่อกดปุ่ม ตามยอดโอน ระบบจะรวบรวมรายการที่มียอดค้างชำระของ Tag User 1 นั้น ๆ มาให้ทุกรายการ

  • กดปุ่ม ตามยอดแล้ว เพื่อปิดหน้าต่างนี้ และบันทึกจำนวนครั้งที่ตามยอดให้กับทุกรายการที่ค้นหาเจอ (เพิ่มจำนวนครั้ง +1)
  • กดปุ่ม COPY ข้อความ เพื่อคัดลอกข้อความทั้งหมดในกรอบฝั่งซ้ายลงใน Clipboard
  • กดปุ่ม ปิดหน้าต่าง เพื่อปิดหน้าต่างนี้ โดยไม่บันทึกจำนวนครั้งที่ตามยอด
  • กดปุ่ม แก้ไข Template เพื่อเข้าสู่หน้า Editor

สามารถกดแว่นขยาย หรือกดปุ่ม บนคีย์บอร์ด เพื่อดูประวัติตามยอดโอนได้

Balance

กดบาร์ แล้วเลือกเมนู Balance ใช้สำหรับบันทึกยอดเงินโอนเกินของลูกค้า หรือลูกค้าขอฝากยอดไว้ เพื่อหักกับออเดอร์ถัดไป

  • ใส่ข้อมูลสินค้าตามช่องที่มีเครื่องหมาย * ให้ครบถ้วน
  • กดปุ่ม บันทึกข้อมูล เพื่อเพิ่มหรือลดยอดเงินฝากในระบบ
  • สามารถกดแว่นขยาย เพื่อดูประวัติยอดเงินฝากได้
  • ติ๊กช่อง แสดงทั้งหมด เพื่อแสดงรายการ Tag User 1 ทั้งหมด ที่ยอดฝากเหลือ 0.00 บาท แล้วด้วย

Tip:

ทำการค้นหาแบบ Live search ได้โดยพิมพ์ในช่อง Tag User 1 อย่างน้อย 3 ตัวอักษร

User

กดบาร์ แล้วเลือกเมนู User เพื่อจัดการที่อยู่ลูกค้า

คลิกเพื่อซูม

1) แผงตัวกรองการค้นหา

  • กดปุ่ม แสดงผล เพื่อกรองผลลัพท์ ตามที่เลือกไว้
  • สามารถเพิ่มข้อมูลลูกค้าใหม่ได้จากการสร้างออเดอร์ใหม่ในหน้า Orders เท่านั้น

2) ปุ่มจัดการลูกค้า

  • กดปุ่ม ติด Blacklist ทั้งหมดที่เลือก เพื่อติดสถานะ แบล็คลิสต์ ให้กับ ID ที่เลือก

    • ID ที่อยู่อื่น ๆ ที่ใช้ Tag User 1 เดียวกันกับที่โดนติ๊ก จะโดนติด แบล็คลิสต์ ไปด้วย
    • ผู้ใช้งานยังสามารถสร้างออเดอร์ใหม่โดยใช้ Tag User 1 ที่ติด แบล็คลิสต์ ได้ แต่จะมีแถบสีแดงและข้อความเด้งแจ้งเตือน

  • กดปุ่ม ปลด Blacklist ทั้งหมดที่เลือก เพื่อปลดสถานะ แบล็คลิสต์ ให้กับ ID ที่เลือก

    • ID ที่อยู่อื่น ๆ ที่ใช้ Tag User 1 เดียวกันกับที่โดนติ๊ก จะโดนแก้สถานะไปด้วย

3) ผลลัพท์การค้นหาที่อยู่ลูกค้า

  • คลิกชื่อ Tag User เพื่อ Copy to Clipboard ได้ทันที
  • คลิก แก้ไข เพื่อเปิดฟอร์มแก้ไขที่อยู่ลูกค้า

    • การแก้ไขข้อมูลที่อยู่ในส่วนนี้ จะไม่มีผลกับข้อมูลที่อยู่ของ ID เดียวกัน ที่โดนใช้ออกออเดอร์ไปก่อนหน้านี้แล้ว

  • คลิก ค้างส่ง เพื่อดูออเดอร์ที่ยังไม่ปิดรายการของ Tag User 1 นั้น
  • คลิก ทั้งหมด เพื่อดูออเดอร์ทั้งหมดของ Tag User 1 นั้น

Editor

กดบาร์ แล้วเลือกเมนู Editor สำหรับจัดการข้อความสำเร็จรูป

ใช้ Text Editor สำหรับออกแบบข้อความได้ 3 ส่วน ดังนี้

Info:

สามารถดู การใช้ตัวแปรเพื่อแปลงเป็นข้อความ ได้จากตัวอย่างข้อความสำเร็จรูปที่เตรียมไว้ให้

Admin Roles

กดบาร์ แล้วเลือกเมนู Admin Roles เพื่อจัดการผู้ใช้งานระบบ (เข้าได้เฉพาะ Admin)

  • สามารถเทียบสิทธิ์ในการใช้งานของผู้ช่วยแต่ละระดับได้จากตารางที่ให้ไว้ด้านใน
  • กดปุ่ม เพิ่มผู้ใช้งาน เพื่อเปิดฟอร์มเพิ่มผู้ช่วยแอดมิน

    • Case sensitive คือ ตัวพิมพ์เล็ก กับ ตัวพิมพ์ใหญ่ ถือว่าเป็นตัวอักษรคนละตัวกัน
    • กดปุ่ม ดำเนินการ เพื่อเพิ่มผู้ช่วยใหม่

  • กดปุ่ม แก้ไข เพื่อเปิดฟอร์มแก้ไขผู้ช่วยแอดมิน

    • สามารถแก้ไขรหัสผ่านของผู้ใช้งานใหม่ได้ทันที
    • สำหรับผู้ใช้งานที่ต้องการเก็บข้อมูลรหัสผ่านไว้เป็นความลับ สามารถส่ง URL เพื่อตั้งรหัสผ่านใหม่ได้โดยกดปุ่ม สร้าง URL สำหรับเปลี่ยนรหัสผ่าน
    • เมื่อเปลี่ยนสถานะเป็น ยกเลิกใช้งาน จะทำให้ผู้ใช้งานนั้นไม่สามารถ login เข้าใช้งานได้

ตั้งรหัสผ่านใหม่

เมื่อเปิด URL ที่สร้างจากปุ่ม สร้าง URL สำหรับเปลี่ยนรหัสผ่าน จะเปิดแบบฟอร์มตั้งรหัสผ่านใหม่

  • URL ตั้งรหัสผ่านใหม่ มีอายุการใช้งาน 60 นาที และสามารถใช้ได้ครั้งเดียว
  • หลังจากกดปุ่ม บันทึก ระบบจะทำการอัพเดทรหัสผ่านใหม่ และ redirect ไปที่หน้า login ของร้านค้านั้น ๆ

Expense

กดบาร์ แล้วเลือกเมนู Expense ใช้สำหรับบันทึกรายจ่าย เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถประเมินกำไรสุทธิได้แม่นยำยิ่งขึ้น

คลิกเพื่อซูม

  • กดปุ่ม แสดงผล เพื่อกรองผลลัพท์ ตามที่เลือกไว้
  • กดปุ่ม สร้างรายการ เพื่อเปิดฟอร์มเพิ่มบันทึกรายจ่าย
  • กดปุ่ม จัดการหมวดหมู่ เพื่อเปิดฟอร์มจัดการหมวดหมู่ (เข้าได้เฉพาะ Admin)
  • กดแว่นขยาย เพื่อดูรายละเอียด
  • คลิก แก้ไข เพื่อเปิดฟอร์มแก้ไขบันทึกรายจ่าย
  • คลิก ลบรายการ เพื่อลบบันทึกรายจ่าย
  • ผู้ใช้งานที่ไม่ใช่ระดับ Admin จะไม่สามารถเห็นรายการบันทึกรายจ่ายที่อยู่ในหมวด Admin Only ได้

เพิ่มบันทึกรายจ่าย

กดปุ่ม สร้างรายการ จากหน้า Expense เพื่อเปิดฟอร์มเพิ่มบันทึกรายจ่าย

  • ใส่ข้อมูลตามช่องที่มีเครื่องหมาย * ให้ครบถ้วน
  • กดปุ่ม จัดการหมวดหมู่ เพื่อเปิดฟอร์มจัดการหมวดหมู่ (เข้าได้เฉพาะ Admin)
  • ถ้าใส่ รหัสใบสั่งซื้อ ถูกต้อง ระบบจะดึงค่า Tag User 1 ของออเดอร์นั้นออกมาแสดงด้วย
  • กดปุ่ม บันทึกข้อมูล เพื่อเพิ่มบันทึกรายจ่าย

จัดการหมวดหมู่

กดปุ่ม จัดการหมวดหมู่ เพื่อเปิดฟอร์มจัดการหมวดหมู่ (เข้าได้เฉพาะ Admin)

  • กดปุ่ม ตกลง เพื่อสร้างหมวดหมู่รายจ่ายใหม่ตามที่ตั้งชื่อไว้
  • กดปุ่ม บันทึก เมื่อต้องการแก่ไขชื่อหมวดหมู่ใหม่
  • เมื่อเปิดใช้งาน จะทำให้บันทึกรายจ่ายในหมวดหมู่นั้น สามารถมองเห็นได้เฉพาะผู้ใช้งานระดับ Admin
  • กดปุ่ม เพื่อลบหมวดหมู่นั้น ๆ

    • บันทึกรายจ่ายทั้งหมดในหมวดหมู่ที่โดนลบ จะถูกย้ายเป็น [ไม่มีหมวดหมู่] โดยอัตโนมัติ

Activity Log

กดบาร์ แล้วเลือกเมนู Activity Log ใช้ดูประวัติการดำเนินการของผู้ใช้งานแต่ละคน

คลิกเพื่อซูม

  • กดปุ่ม แสดงผล เพื่อกรองผลลัพท์ ตามที่เลือกไว้
  • คลิกชื่อ Tag User 1 เพื่อ Copy to Clipboard ได้ทันที
  • ถ้าเป็นการแก้ไขออเดอร์ สามารถกดแว่นขยาย เพื่อดูออเดอร์ก่อนโดนแก้ไขได้

Info:

สามารถดูประวัติย้อนหลังสูงสุดได้ 0 วัน

Settings

กดบาร์ แล้วเลือกเมนู Settings (เข้าได้เฉพาะ Admin) สามารถตั้งค่าต่าง ๆ ได้ ดังนี้

  • ชื่อร้านค้า
  • เบอร์โทรศัพท์
  • โลโก้ร้านค้า
  • เปิด/ปิด บาร์โค้ด บนหัวใบเสร็จ
  • เปิด/ปิด การแสดง รหัสสินค้า ในใบเสร็จ
  • เปิด/ปิด การแสดง หน่วยนับสินค้า ในใบเสร็จ
  • แก้ไขชื่อที่อยู่ผู้ส่ง และข้อความหัวใบเสร็จ
  • เปิด/ปิด ใช้งาน สถานะ
  • คำอธิบายแถบสีในหน้า Manage
  • เพิ่ม/ลด หน่วยนับสินค้า
  • รหัสลับดูต้นทุนสินค้า
  • Excluded Tagusers
  • ค่ากล่อง ที่ใช้ในส่วน คำนวณค่าส่ง

Summary Stat

กดบาร์ แล้วเลือกเมนู Summary Stat (เข้าได้เฉพาะ Admin)

  • รายงานสรุปยอดขาย หักค่าใช้จ่าย แสดงกำไรเบื้องต้น
  • รายจ่ายจากระบบ Expense จะถูกนำมาคำนวณด้วย
  • แสดงสถิติแบ่งตามเดือน เลือกปีสถิติได้

Back to top